BCG

"กองทุนหมู่บ้าน" ไม่ใช่เงิน ! "กองทุนหมู่บ้าน"
เป็นอะไรที่ใหญ่โต และมีคุณค่ายิ่งกว่าเงินมากนัก

กว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และ สังคมในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-7

ที่ผ่านมาเกิดจากการนำทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความได้เปรียบด้านแรงงานที่มีราคาถูก และมีอยู่อย่างเหลือเฟือของประเทศมาใช้สนับสนุนการพัฒนาและขยายฐานการผลิตทำให้ระบบ เศรษฐกิจมีการขยายตัวในอัตราที่สูงแต่การเติบโตดังกล่าวนอกจากจะต้องแลกเปลี่ยนด้วยทรัพยากร ธรรมชาติที่ร่อยหลอ

ปัญหาที่เกิดตามมา คือ ความขัดแย้งในสังคมจากการเลื่อมล้ำของรายได้และการแย่งชิงทรัพยากร ธรรมชาติที่เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยนั้นมากขึ้นรวมถึงการพัฒนาจะกระจุกอยู่เฉพาะพื้นที่ในเขตเมือง และชุมชนด้านอุตสาหกรรมไม่เกิดการกระจายการพัฒนาสู่ชนบทการพัฒนานั้นอาจจะไม่ยั่งยืนเพราะ คนในสังคมส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากกระบวนการพัฒนาที่ต่อเนื่องกันมายาวนาน

แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ และความต่อเนื่องของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙

ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ การพัฒนาใหม่ โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคน ทั้งในฐานะ ผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน กระบวนการพัฒนา และเป็นผู้ได้รับประโยชน์ หรือผลกระทบโดยตรง จากการพัฒนาจึงมุ่งเน้นการพัฒนาแบบองค์รวมที่มี "คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา" และมีกระบวนการ ที่บูรณาการทุกด้านในการเชื่อมโยงกันส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้มี ความสามารถหรือประสิทธิภาพต่อการสร้างความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมาย ของการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย

จากกระบวนทัศน์ใหม่ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘
และความต่อเนื่องของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙

กับปรัญญาของนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในการเสริมสร้างสำนึก ความเป็นชุมชนและท้องถิ่น โดยชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตและจัดการหมู่บ้าน และชุมชนด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง และเกื้อกูลประโยชน์ต่อ ผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน เสริมสร้างการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชนและประชาสังคมรวมถึงการกระจายอำนาจ ให้ท้องถิ่นและเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน

แผนพัฒนาฯฉบับบที่ 10 เป็นการมุ่งเสริมให้สังคมไทย อยู่เย็นเป็นสุข

ด้วยวิธีปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนที่เข้มแข็งจึงเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนการพัฒนา โดยที่ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาจะช่วยสนับสนุน ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถจัดกิจกรรมที่เป็นองค์ความรวม มีกระบวนการเรียนรู้และการ จัดการความรู้ร่วมกันของคนในชุมชนในรูปแบบที่หลากหลายตามภูมิสังคมด้วยทุนทาง ทรัพยากร และศักยภาพของชุมชน มีการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองอย่างพอเพียงพึ่งพา ตนเองได้นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยสรุปได้เป็น 3 แนวทางหลัก
  1. การบริหารจัดการกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง
  2. การสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน
  3. การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการอยู่ร่วมกันกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสันติและเกื้อกูลกัน

วัตถุประสงค์กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

  • พัฒนาอาชีพ สร้างงาน
  • สร้างรายได้ หรือ เพิ่มรายได้
  • ลดรายจ่าย
  • บรรเทาเหตุฉุกเฉินและ
    จำเป็นเร่งด่วน
  • จัดระบบเงินกองทุน
  • บริหารจัดการเงินกองทุน
  • การเรียนรู้
  • การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม
  • เสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริม เศรษฐกิจพอเพียง
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ และสังคมในอนาคต
  • เศรษฐกิจ
  • สังคม

ปรัชญาของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

คุณสามารถใช้แอปพลิเคชันของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร
หรือเพื่อดูข้อมูลล่าสุด ได้ทุกที่ทุกเวลา